สาระน่ารู้เรื่องแอร์บ้าน

ปัจจัยที่ควรพิจารณา ในการเลือกซื้อ เครื่องปรับอากาศ

  1. จำนวนและขนาดของหน้าต่าง
  2. ทิศที่แดดส่องหรือทิศที่ตั้งของห้อง
  3. วัสดุหลังคามีฉนวนกันความร้อนหรือไม
  4. จำนวนคนทีี่ใช้งานในห้อง

คือ ขนาดทำความเย็นของแอร์บ้าน มีหน่วยดังนี้ 1 ตันความเย็น เท่ากับ 12000 BTU/hr. เราควรเลือกขนาด BTU ให้ เหมาะสมกับขนาด ของห้อง ที่จะทำการติดตั้ง โดยสามารถเลือก ได้จากตารางด้านขวานี้

Btu/h
ห้องปกติ
ห้องโดนแดด
9,000
12-15 ตร.ม.
11-14 ตร.ม.
12,000
16-20 ตร.ม.
14-18 ตร.ม.
18,000
24-30 ตร.ม.
21-27 ตร.ม.
21,000
28-35 ตร.ม.
25-32 ตร.ม.
24,000
32-40 ตร.ม.
28-36 ตร.ม.
25,000
35-44 ตร.ม.
30-39 ตร.ม.
30,000
40-50 ตร.ม.

35-45 ตร.ม.

35,000
48-60 ตร.ม.
42-54 ตร.ม.
48,000
64-80 ตร.ม.
56-72 ตร.ม.
80,000
80-100 ตร.ม.
70-90 ตร.ม

การคำนวณ BTU ของเครื่องปรับอากาศ
BTU = พื้นที่ห้อง (กว้าง*ยาว)*ตัวแปร
ตัวแปรความร้อน แบ่งได้ 2ระดับ

700 ห้องที่มีความร้อนน้อยใช้เฉพาะกลางคืน

800 ห้องที่มีความร้อนสูงใช้กลางวันมาก กรณีที่เพดานสูงกว่า 2.5 เมตร ให้บวกเพิ่มจากเดิม 5%

ทำไมต้องเลือก BTU ให้พอเหมาะ BTU สูงไป คอมเพรสเซอร์ทำงานตัดบ่อยเกินไป ทำให้ประสิทธิภาพ ในการทำงานลดน้อยลง ทำให้ความชื้นในห้องสูง ไม่สะบายตัว และที่สำคัญราคาแพง และสิ้นเปลืองพลังงาน BTU ต่ำไป คอมเพรสเซอร์ทำงานตลอดเวลา เพราะความเย็นห้องไม่ได้ตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้ สิ้นเปลืองพลังงาน และเครื่องปรับอากาศเสียเร็ว

เครื่องปรับอากาศ แอร์ แอร์บ้าน เป็น อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานมากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูงโดยเห็นได้จาก พลังงานไฟฟ้าโดยรวมของเครื่องใช้ไฟฟ้า ในบ้าน 50-80 เปอร์เซ็นต์ เป็นพลังงานที่ใช้กับ เครื่องปรับอากาศแต่อย่างไรก็ตามด้วยอุณหภูมิบ้านเราร้อนขึ้นเรื่อยๆ เครื่องปรับอากาศ แอร์ แอร์บ้านก็มีความจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นเราควรจำเป็นทำความเข้าใจเรื่องค่าใช้จ่ายพลังงาน เพื่อนำไปพิจารณาประกอบการเลือกซื้อ เครื่องปรับอากาศ แอร์ แอร์บ้าน ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างเหมาะสม และไม่เกินความจำเป็น

Btu/h
Watt
หน่วย/ชั่วโมง
หน่วย/เดือน
ค่าไฟประมาณ
9000
920
0.92
165.6
418
12000
1150
1.15
207.0
523
18000
2900
1.95
538.2
920
24000
2900
2.99
538.2
1361

ค่าไฟโดยประมาณนะครับ ขึ้นอยูกับองศาที่ตั้งโดยเฉลี่ยถ้าเราตั้งองศา จาก 25 องศาเป็น 26 องศา ค่าไปจะลดลงประมาณ 100 บ.เพราะคอมเพลเซอร์ตัดเร็วทำงานน้อย และถ้าเราใช้กลาง วันก็ค่าไฟต่างกับกลางคินนะครับเพราะกลางวันอากาศร้อนคอมเพลสเซอร์ทำงานตลอด

แอร์ทั่วไปที่ใช้ตามบ้านพักอาศัย และอาคารสำนักงานขนาดเล็ก แบ่งได้เป็น 7 ประเภทใหญ่ๆ

เป็นแอร์บ้าน ใช้กับห้องที่มีขนาดเล็ก ที่นิยมขนาด 9,000-25,000 บีทียู มีหลายยี่ห้อให้ท่านเลือกหา ราคาจะถูกกว่า แอร์บ้านชนิดอื่น เป็นที่นิยมของลูกค้ารูปทรงสวยงาม

ทั้งแบบเปลือย เป็นแอร์บ้าน ที่เหมาะสำหรับห้อง ที่มีพื้นที่ตั้งแต่เล็ก ไปจนถึงห้องที่มีพื้น ที่ขนาดใหญ่ ราคาจะสูงกว่าแอร์ผนัง เพราะมีต้นทุนผลิตสูงกว่า และติดตั้งยากกว่า ข้อดีคือลมแรงกว่าแอร์ผนังเหมาะสำหรับห้องที่ไม่มีพื้นที่ผนัง และสามารถ ตั้งพิ้นได้ด้วย

เป็นแอร์บ้าน มีลักษณะคล้ายตู้ มีกำลังลมที่แรง เหมาะกับบริเวณที่มี คนเข้าออกอยู่ตลอดเวลา ราคาโดยเฉลี่ยสูงหว่าแอร์ผนังและแอร์แขวน นิยมกับเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดใหญ่กว่า

เป็นแอร์บ้าน เน้นความสวยงาม โดยการซ่อน หรือฝังอยู่ ใต้ฝ้าหรือเพดานห้อง หรูหรา สวยงาม ในเมืองไทยผลิตบางยี่ห้อ สำหรับเครื่องปรับอากาศสี่ทิศทาง

เป็นแอร์บ้าน รวมทั้ง คอนเดนซิ่ง ยูนิต และ แฟนคอยล์ ยูนิต อยู่ในเครื่องเดียว (ไม่นิยมใช้แล้ว) เพราะเวลาติดตั้ง ต้องมีหน้าต่างที่ขนาดพอดีกับ เครื่องปรับอากาศ แบบนี้และข้อเสีย จะมีเสียงเข้ามาในห้องเพราะคอนเดนซิ่งติดกับแฟนคอยล์

เป็นแอร์บ้าน ไม่ต้องทำการติดตั้ง และสามารถเข็นไปใช้ได้ ทุกพื้นที่ สามารถเสียบ ปลั๊กใช้ได้เลย ใช้กับที่โล่งแจ้ง หรือติดในมุ้งที่ออกแบบมาใช้กับแอร์เคลื่อนที่ ถ้าติดตั้งในห้องนอนก็ต้องมีท่อลม ร้อนส่งออกนอกห้อง

เป็นแอร์บ้าน ใช้ท่อลมส่ง ความเย็น เข้าตามห้องต่างๆ แล้วแต่จะใช้กี่ห้องตามแบบที่ออกมา ข้อดีคือติดตั้งชุดเดียว ส่งลมเย็นไปๆด้ทุกห้อง ข้อเสียถ้าเครื่องปรับอากาศเสีย จะไม่เย็นทุกห้อง

เครื่องปรับอากาศ inverter

การทำงานของเครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์ มีจุดเด่นที่เหนือกว่าเครื่องปรับอากาศทั่วไป คือ เรื่องของประหยัดพลังงาน การควบคุมอุณหภูมิที่แม่นย่ำ คงที่ต่อเนื่องและทำงานที่เงียบสนิทไร้เสียงรบกวน

มอเตอร์คอมเพรสเซอร์จะทำงานด้วยรอยที่คงที่ เมื่อมีการตัดต่อการทำงาน(ติด-ดับ)เพื่อรักษาอุณหภูมิที่ตั้งไว้ จึงมีการกระชากของกระแสไฟเป็นช่วงๆตลอดเวลา ต้องใช้เวลาในการทำความเย็นเพื่อให้ได้อุณหภูมิที่ต้องการทุกครั้ง ทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน เดี่ยวร้อน เดี่ยวหนาว

มอเตอร์คอมเพรสเซอร์จะเร่งรอบการทำงานด้วยความเร็วสูงสุด เพื่อให้ได้ความเย็นในระดับที่ต้องการอย่างรวดเร็ว แล้วค่อยๆลดรอบการทำงานของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ลงมาเพื่อรักษาอุณหภูมิตามที่ต้องการ เพื่อรักษารอบการทำงานที่ประหยัดสุดและให้ความเย็นสบายที่แม่นยำคงที่ เงียบสนิท ไร้เสียงรบกวน

1.เป็นกลไกอีกระดับในการควบคุมการทำงานคอมเพรสเซอร์แบบสวิงช่วยให้เกิดการจ่ายกระแสไฟต่ำแต่ได้พลังงานสูงจึงประหยัดไฟ มากกว่าแอร์ธรรมดา 22-33%

2.ระบบอิเวอร์เตอร์จะลดรอบของการทำงานของคอมเพรสเซอร์จึงควบคุมอุณหภูมิคงที่ลดการใช้กำลังไฟได้อย่างชาญฉลาดและดย็น สบายอย่างต่อเนื่อง

3.ควบคุมการหมุนของลูกสูบทำให้เกิดความราบเรียบ ทำให้เกิดการเสียดทานน้อย ควบคุมการจ่ายน้ำยาทำความเย็นเพื่อให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด

4.คอมเพรสเซอร์ทำงานเพียง 43 เดซิเบล

5. ใช้ระบบอินเวอร์เตอร์ขับมอเตอร์คอมเพรสเซอร์จึงทำให้กินไฟน้อยเพิ่มประสิทธิ์ภาพ กว่า 2 แรงบิดโดยใช้แม่เหล็กนีโอไดเมียน

6.ระบบอินฟาเรดตรวจจับอุณหภูมิความเครื่องไหวภายในห้อง

เครื่องปรับอากาศเบอร์ 5 หมายถึงอะไร ฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพตามมาตรฐาน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) โดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิคส์ (สฟอ.) เป็นหน่วยงานทดสอบค่าประสิทธิภาพ โดยเกณฑ์ที่ใช้กำหนด ประหยัดไฟเบอร์ 5 จะมีค่า EER มากกว่า 11 ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เป็นลักษณะป้ายสีเหลือง และระบุรายละเอียดต่างๆ ของแอร์ตัวนั้น หากมีข้อสงสัยว่า แอร์ของท่านประหยัดไฟฟ้าได้จริงหรือไม่ สอบถามข้อมูลการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ 02-4368290-96 ปัจจุบัญมาตรฐาน
ที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศมี 2 อย่างคือ มอก.กับเบอร์ 5

ระบบ BTU ค่าไฟ/เดือน ประหยัดกว่า
เบอร์ 5
9000 670 ฿ 26%
INVERTER
500 ฿
เบอร์ 5
13000 920 ฿ 28%
INVERTER
670 ฿
เบอร์ 5
18000 1,460 ฿ 26%
INVERTER
1,080 ฿
เบอร์ 5
24000 1,750 ฿ 30%
INVERTER
1,250 ฿

ก่อน อื่นต้องขอทำความเข้าใจกันก่อนว่า การปรับอากาศ ความหมายคือ ปรับให้อากาศเย็นหรือร้อนก็ได้ ถ้าพูดถึงปรับอากาศให้เย็น เราจะนึกถึงคำว่าแอร์นั่นเอง ในที่นี้เราจะพูดคุยกันอย่างง่ายๆ ถามว่าแอร์เกี่ยวกับความร้อนหรือไม่ เกี่ยวแน่นอน เพราะแอร์เป็นตัวนำความร้อนจากภายในห้อง ออกไปทิ้งข้างนอก ทิ้งอย่างไรมันมีขบวนการของมันโดยใช้เครื่องมือ 4 ตัว คือ

1. EVAPPORATOR
2. COMPRESSOR
3. CONDENSER
4. CAPILLARY TUBE

คือ เครื่องระเหย หรือที่ช่างแอร์เรียกว่า คอล์ยเย็น การทำงานของมันคือ ดูดความร้อนจากภายในห้อง โดยมีมอเตอร์พัดลมเป็นตัวดูดเข้ามา ผ่านช่องที่เรียกว่า RetumAir ซึ่งมี Filter เป็น ตัวกรองฝุ่นให้ก่อน แล้วความร้อนที่ถูกดูดเข้ามานั้น จะมาสัมผัสกับคอล์ยเย็นซึ่งมีนำยาแอร์(ของเหลว) ซึ่งอุณหภูมิติดลบ วิ่งอยู่ในท่อนั้น จะเกิดการระเหยเป็นไอ(แรงดันต่ำ)

คือ เครื่องอัดไอ การทำงานหรือหน้าที่ของมันคือ ดูดไอ(แรงดันตำ) ซึ่งเกิดจากการระเหยภายในคอล์ยเย็น ทำการอัดให้เป็นไอ(แรงดันสูง) อุณหภูมิสูง เพื่อส่งไประบายความร้อนต่อไป

คือเครื่องควบแน่น หรือช่างแอร์เรียกว่า คอล์ยร้อน หน้าที่ของมันคือรับไอร้อนที่ถูก COMPRESSOR อัด จนร้อนและมีอุณหภูมิสูง เข้ามาในแผงพื้นที่ของมัน จากไอที่มีอุณหภูมิสูง เมื่อมาเจอกับอากาศภายในห้อง ซึ่งมีอุณหภูมิตำกว่า ความร้อนจึงถูกถ่ายเทออกไปได้โดยไอร้อนนั้น จะควบแน่นกลายเป็นของเหลว(แรงดันสูง-อุณหภูมิสูง)แต่มีมอเตอร์พัดลมเป็นตัว ช่วยระบายความร้อนออกไปให้เร็วขึ้น เมื่อเป็นของเหลวแล้วก็สามารถกลับมารับความร้อนภายในห้องได้อีก แต่ของเหลวนั้นยังมีอุณหภูมิสูงอยู่ จึงต้องทำให้อุณหภูมินั้นลดลงก่อน

คือ ท่อลดแรงดันหรือท่อรูเข็ม ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเล็กมาก ช่างแอร์จะเรียกว่า แค๊ปทิ้ว หน้าที่ของมันคือลดแรงดันของน้ำยาแอร์(ของเหลว)จากที่ถูกระบายความร้อนแล้ว ยังมีอุณหภูมิสูง-แรงดันสูง เมื่อมาเจอท่อรูเข็ม ทำให้ของเหลวอั้น ผ่านได้น้อย ทำให้ของเหลวนั้น มีอุณหภูมิลดลง และแรงดันลดลง น้ำยาแอร์(ของเหลว)และไหลพอดีเหมาะสมกับพื้นที่ของคอล์ยเย็ย เพื่อที่จะมารับความร้อน ในห้องได้อีกครั้ง

หลังจากได้ทราบถึงวงจรการทำงานของเครื่องปรับอากาศแล้ว เราจะมาศึกษาถึงที่มาที่ไปบ้าง

ซึ่งมีหลักการทำงานง่ายๆคือ การทำให้สารทำความเย็น (น้ำยา) ไหลวนไปตามระบบ โดยผ่านส่วนประกอบหลักทั้ง 4 อย่างต่อเนื่องเป็น วัฏจักรการทำความเย็น (Refrigeration Cycle) โดยมีกระบวนการดังนี้

1) เริ่มต้นโดยคอมเพรสเซอร์ทำหน้าที่ดูดและอัดสารทำความเย็นเพื่อเพิ่มความดัน และอุณหภูมิของน้ำยา แล้วส่งต่อเข้าคอยล์ร้อน

2) น้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์ร้อนโดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยระบายความร้อน ทำให้น้ำยาจะที่ออกจากคอยล์ร้อนมีอุณหภูมิลดลง (ความดันคงที่) จากนั้นจะถูกส่งต่อให้อุปกรณ์ลดความดัน

3) น้ำยาที่ไหลผ่านอุปกรณ์ลดความดันจะมีความดันและอุณหภูมิที่ต่ำมาก แล้วไหลเข้าสู่คอยล์เย็น (หรือที่นิยมเรียกกันว่า การฉีดน้ำยา)

4) จากนั้นน้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์เย็นโดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยดูดซับความร้อน จากภายในห้อง เพื่อทำให้อุณหภูมิห้องลดลง ซึ่งทำให้น้ำยาที่ออกจากคอยล์เย็นมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น (ความดันคงที่) จากนั้นจะถูกส่งกลับเข้าคอมเพรสเซอร์เพื่อทำการหมุนเวียนน้ำยาต่อไป

1) สารทำความเย็นหรือน้ำยา ทำหน้าที่เป็นตัวกลางดูดเอาความร้อนภายในห้อง (Indoor) ออกมานอกห้อง (Outdoor) จากนั้นน้ำยาจะถูกทำให้เย็นอีกครั้งแล้วส่งกลับเข้าห้องเพื่อดูดซับความร้อน อีก โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดการทำงานของคอมเพรสเซอร์

2) คอมเพรสเซอร์เป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวในระบบที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนน้ำยาผ่าน ส่วนประกอบหลัก คือคอยล์ร้อน อุปกรณ์ลดความดัน และคอยล์เย็น โดยจะเริ่มทำงานเมื่ออุณหภูมิภายในห้องสูงเกินอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ และจะหยุดทำงานเมื่ออุณหภูมิภายในห้องต่ำกว่าอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ ดังนั้นคอมเพรสเซอร์จะเริ่ม และหยุดทำงานอยู่ตลอดเวลาเป็นระยะๆ เพื่อรักษาอุณหภูมิห้องให้สม่ำเสมอตามที่เราต้องการ


คำว่า BTU ที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศ เป็นหน่วยความร้อน ย่อมาจาก BRITISH THERMAL UNIT ส่วนที่เรียกว่า แอร์ 1 ตัน, 2 ตัน คำว่าตันนั้น หมายถึงตันความเย็น เป็นประสิทธิภาพในการทำความเย็น ที่เรียกตันความเย็น มีที่มาดังนี้

น้ำ ทำให้เป็นนำแข็ง 1 ตัน (2000 Ib) ใน1วัน (24 ช.ม)
ค่าความร้อนแฝงการทำละลายของน้ำแข็ง 144 BTU / น้ำแข็ง 1 ปอนด์
2000 Ib x 144 BTU/Ib 1ตัน = 12000 BTU/h
24h


ส่วนใหญ่แอร์ 1ตัน ประมาณ 12000 BTU ถ้าตันครึ่งหมายถึง 18000 BTU เป็นต้น

กรณีเป็นแอร์ เบอร์5 หรือค่า EER=10.6 ขึ้นไป (EER= ENERGY EFFICIENCY RATIO) หมายความว่า ประสิทธิภาพการทำความเย็น หรือ BTU กำลังไฟฟ้า watt
สมมุติว่าแอร์ 12000 BTU. ใช้กำลังไฟฟ้าจากคอมเพรสเซอร์ทำงาน 1000 watt จะได้ค่า EER= 12000 =12 นั่นคือได้เบอร์5 เพราะ EER เกิน 10.6 1000
แต่ถ้าแอร์ 12000 BTU.ใช้กำลังไฟฟ้าจากคอมเพรสเซอร์ทำงาน 1200 watt จะได้ค่า EER= 12000 =10 นั่นคือไม่ได้เบอร์5เพราะ EER ไม่ถึง 10.6 1200

ถ้าเปรียบเทียบกับแอร์ มาเป็นคนละ จะเห็นว่า 2 คน ทำงานเท่ากันแต่คนหนึ่งกินข้าวมากกว่า ส่วนอีกคนกินข้าวน้อย เราควรจะเลือกใช้คนแบบไหนดี

1. แบบลูกสูบ ประสิทธิภาพดีที่สุด ข้อเสีย เสียงดัง กินไฟ
2.แบบสกรอล ประสิทธิภาพ รองลงมา แต่ทนกว่า กินไฟปานกลาง มีตั้งแต่ 18000 BTU ขึ้นไป
3.แบบโรตารี่ ประสิทธิภาพ กินไฟน้อย เสียงเงียบ ราคาถูก ขนาดใหญ่สุดมีแค่ 36000 BTU

จะเป็นการระบายความร้อนทางตรง หรือระบายความร้อนด้วยอากาศ คือน้ำยาแลกเปลี่ยนความร้อน กับอากาศ โดยตรง
INVERTER คือระบบที่ควมคุมการปรับอากาศ ให้เป็นอย่างราบเรียบ และคงที่ ด้วยการปรับเปลี่ยนรอบการหมุนของคอมเพรสเซอร์ โดยการเปลี่ยนความถึ่ของกระแสไฟที่จ่ายให้กับมอเตอร์ของคอมเพรสเซอร์แทนการ ทำงานแบบ ติด-ดับ-ติด-ดับ ใน เครื่องปรับอากาศ แบบเก่า ทำให้ระบบ Inverter สามารถควบคุมอุณภูมิได้แม่นยำมากขึ้น และที่สำคัญ คือ ประหยัด

ระบบฟอกอากาศที่ให้กับ เครื่องปรับอากาศ ทุกวันนี้

ระบบแผ่นฟอก หรือตะแกรงประจุที่อยู่ภายในเครื่อง

ระบบพ่นอนุภาคไฟฟ้าออกมานอกเครื่อง แบ่งเป็น (พ่นอนุภาคไฟฟ้า - เพียงอย่างเดียว, พ่นอนุภาคไฟฟ้า + และ - ทั้งคู่)

ระบบแผ่นฟอก หรือตะแกรงประจุ ที่อยู่ภายใน เครื่องปรับอากาศ แอร์ แอร์บ้าน จะ ดีสำหรับการดักจับฝุ่น ควัน เพราะจะถูกดูดเข้ามาในเครื่อง แต่ก็จะไม่ได้ผลในกรณีที่ผู้ใช้แอร์ไม่ยอมเปลี่ยนแผ่นฟอก หรือทำความสะอาดตะแกรงประจุบ่อยๆ สำหรับเชื้อโรคบางชนิดก็สามารถถูกดักจับได้เหมือนกัน แต่ก็ติดปัญหาที่ว่ามันไม่ตายและสะสมอยู่ภายในเครื่อง สังเกตุได้จากการมีกลิ่นอับชื้นตอนเปิดแอร์ ซึ่งเกิดจากเชื้อราภายในเครื่อง ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ได้ เช่น จาม คัดจมูก หนักหน่อยก็พัฒนาเป็นโรคหอบหืด

ระบบพ่นอนุภาคไฟฟ้า - ออกมานอกเครื่อง จะมีผลทำให้ร่างกายสดชื่น ไม่มีผลต่อการฆ่าเชื้อโรค สลายกลิ่นอับชื้น

ระบบ พ่นอนุภาคไฟฟ้า + และ - ออกมานอกเครื่อง (ระบบพลาสม่าคลัสเตอร์) จะมีผลไปฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส ที่ลอยในอากาศ ทุกซอกทุกมุมของห้อง ส่าสุดค้นพบว่าพลาสม่าคลัสเตอร์สามารถสลายสารก่อภูมิแพ้จากตัวไรฝุ่นได้ ประสิทธิภาพเหล่านี้ถูกรับรองจากสถาบันวิจัยนานาชาติ 8 แห่ง

ค่า EER ของแอร์หมายถึงอะไร ค่า EER หมายถึง การนำจำนวน บีทียู มาหารด้วยจำนวนวัตต์ ของแอร์รุ่นนั้นๆ ค่าที่คำนวนได้ออกมา
ค่ายิ่งสูงจะยิ่งประหยัดไฟ เช่น แอร์ขนาด 13,000 บีทียู ใช้กำลังไฟ 1,300วัตต์ จะมีค่า EER ( Energy Efficiency Ratio) เท่ากับ 10
ซื่งมาตรฐานที่กำหนดไว้ของเบอร์ 5 ในปัจจุบัน ค่า EER ต้องมากกว่า 11 ดังตัวอย่าง

แอร์ LG รุ่น S13-SBB6P ค่าEER คือ 11.71
• แอร์ Daikin รุ่น FTE09LV2S ค่าEER คือ 11.60
• แอร์ Panasonic รุ่น CS-PC09KKT ค่าEER คือ 11.52
• แอร์ Mitsubishi รุ่น MS-SGG09VC ค่าEER คือ 11.53

เดิมในอดีตที่ผ่านมาทั่วโลกน้ำยา R22 เป็นน้ำยาตัวเก่าซึ่งทำลายชั้นบรรยากาศของโลก
จึงมีการคิดค้นน้ำยาตัวใหม่ที่ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศ ทำให้เกินภาวะโลกร้อน ชื่อน้ำยา R32 กับ R410A ซึ่งน้ำยาทั้ง 2 ตัว ไม่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน แล้วแต่บริษัทผู้ผลิตจะเอาน้ำยาตัวไหนไปใช้ก็ได้ ซึ่งน้ำยา R22 ทั่วโลกออกกฎหมายห้ามใช้ในเครื่องปรับอากาศรุ่นใหม่
สรุปง่ายๆคือ น้ำยา R410A มีราคาแพงกว่า R32 จึง

หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมอ่านบทความด้านล่าง

เครื่องปรับอากาศ เราได้ใช้ R22 หรือที่พวกเราเรียกกันติดปากว่าฟรีออน (Freon) เป็นน้ำยาในระบบทำความเย็นมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2483 และใช้น้ำยาตัวนี้มาเรื่อย ๆ จนมาถึงกระทั่งวันหนึ่งในปี พ.ศ. 2523 นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการต่าง ๆ ได้ทำการวิจัยและค้นพบว่า R22 เป็นสารประเภทหนึ่งที่มีส่วนในการทำงานชั้นบรรยากาศของโลก เนื่องด้วยในน้ำยามีสารในกลุ่มของคลอรีน (Chlorine) อยู่ด้วย เมื่อมีการปล่อยน้ำยาตัวนี้ออกจากระบบ เช่นตอนย้ายเครื่องหรือเมื่อซ่อมเครื่อง ฯลฯ น้ำยาตัวนี้ก็จะลอยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ และเจ้าสารในกลุ่มของคลอรีน (Chlorine) นี้ก็จะเริ่มปฏิบัติการทำลายชั้นบรรยากาศโลกทันที เมื่อชั้นบรรยากาศถูกทำลายลง แสงอาทิตย์ก็มาผิวโลกได้โดยตรงและเร็วขึ้น ทำให้เกิดอันตรายต่อโลกได้เช่นการที่แสงอาทิตย์เข้ามาโดยตรง อาจจะทำให้เกิดมะเร็วผิวหนังได้ ขอบคุณที่มา ซึ่งปัจจุบัน ได้เริ่มมาเปลี่ยนเป็น น้ำยา R410 แทน

นักค้นคว้านักวิจัยจึงได้จัดทำการค้นคว้าและวิจัยทำการผสมน้ำยาขึ้นมาตัวหนึ่ง เป็นสารประกอบของน้ำยา 2 ชนิดคือ HFC32 และ HFC125 (R32 และ R125) อย่างละเท่า ๆ กันในเชิงปริมาตร ตั้งชื่อเรียกน้ำยาตัวใหม่ที่ผสมกันนี้ว่า R410A ซึ่งน้ำยาตัวนี้กลายเป็นพระเอกในปัจจุบันนี้ (ขอย้ำว่าในปัจจุบันนี้เท่านั้น อนาคตอาจจะมีตัวอื่นขึ้นมาแทนที่ก็ได้) เนื่องจากน้ำยาตัวนี้ไม่มีสารกลุ่มคอลไรน์ (Chlorine) แต่เป็นสารในกลุ่มฟลูออไรน์ (Fluorine) ซึ่งไม่ทำงายชั้นบรรยากาศ จึงสามารถนำมาใช้ในระบบปรับอากาศของเราได้อย่างสบายใจ ขอบคุณที่มา : น้ำยาแอร์ R410A คืออะไร มีใช้ในวงการเครื่องปรับอากาศได้อย่างไร เริ่มเลิกใช้น้ำยา R22 หันมาใช้น้ำยา R410 แทน

1. ความดัน ของน้ำยาในระบบของ R410A จะมากกว่า R22 ประมาณ 1.6 เท่า ดังนี้
2. ท่อทองแดง จากความดันที่แตกต่างดังกล่าว ทำให้ต้อง ใช้ท่อทองแดงที่หนาขึ้น เพื่อรองรับความดันที่สูงขึ้นนี้ได้ ดังนั้นท่อทองแดงที่ใช้ในการติดตั้งต้อง
มีความสามารถที่จะทนต่อแรงดันที่สูงขึ้นได้ตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตได้กำหนดไว้
3. น้ำมันหล่อลื่น ที่ใช้ในระบบน้ำยา R22 จะแตกต่างกันกับน้ำมันหล่อลื่นระบบน้ำยา R410A ทั้งสองชนิดใช้ทดแทนกันไม่ได้
4. เครื่องมือวัด เช่น เกจ์วัดน้ำยา และสายชาร์จของระบบน้ำยา R410A ไม่สามารถใช้ร่วมกับระบบน้ำยา R22 เพราะหากใช้ผสมกัน น้ำมันที่ตกค้างในสายหรือในเกจ์จะสร้างปัญหาได้
5. การเติมน้ำยา เป็นการชั่งน้ำหนักเดิมเข้าไปในระบบและเติมน้ำยาในสถานะของเหลว แตกต่างกันกับ R22 ซึ่งวัดความดันเป็นสำคัญ และสามารถเติมในสภาพเป็นไอได้ โดยเวลาเติม ให้คว่ำถัง
6.ซ่อมรั่ว ในเครื่องปรับอากาศที่ใช้ระบบน้ำยา R410A หากน้ำยารั่วออกจากระบบเป็นจำนวนมาก จำเป็นจะต้องปล่อยน้ำยาที่เหลือออกและเติมน้ำยา (ในสภาพของเหลว) เข้าไปอีกครั้งหนึ่ง ไม่สามารถเติมน้ำยาเพิ่มเหมือนเครื่องปรับอากาศระบบน้ำยา R22 ได้ เนื่องจากน้ำยา R410A เป็นน้ำยาที่เกิดจากน้ำยาสองชนิดมาผสมกัน การเติมน้ำยาในสภาพของไอจะทำให้ส่วนผสมแปรเปลี่ยนไป และไม่สามารถทำความเย็นได้อย่างมีประสิทธิภาพได้
7. การเชื่อมท่อทองแดง ควรจะใช้ก๊าซไนโตรเจนเลี้ยงในท่อขณะทำการเชื่อมท่อเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเขม่าภายในท่อ เนื่องจากระบบที่ใช้น้ำยา R410A ระบบท่อต้องการความสะอาดเพื่อป้องกันการอุดตันและการทำความเสียหายแก่คอมเพรสเซอร์ได้ ขอบคุณที่มา
8.ประสิทธิภาพ ดีกว่า น้ำยาแอร์แบบ R-22 ถึง 10% ในอากาศร้อนๆ เพราะฉะนั้นในประเทศไทยที่อุณหภูมิเฉลี่ย 25-35 องศาเซลเซียสนั้น การใช้เครื่องปรับอากาศ ที่ใช้น้ำยาแอร์แบบ R410a นั้นจะช่วยประหยัดพลังงาน และค่าไฟต่อปีได้ดีทีเดียว แถมยังใช้แอร์ได้ทนกว่าน้ำยาแอร์แบบ R-22 ของเดิมอีกด้วยนะ ขอบคุณที่มา : กำหนดการเลิกใช้ น้ำยาแอร์ R-22 ในประเทศไทยโดยมี R410a มาทดแทน
9.ใช้ทดแทนกัไม่ได้ เครื่องปรับอากาศเก่าที่ใช้น้ำยา R22 จะใช้น้ำยา R410 ทดแทนไม่ได้
10.ราคา ปัจจุบัน น้ำยา R410 สูงกว่าน้ำยา R22 ประมาณ 3 เท่า ซึ่งอนาคต ราคาจะลดลงตาม ความต้องการและปริมาณการผลิด

เหตุผลสั้น ๆ เข้าใจง่าย ๆ และถามว่าประเทศไทยเลิกใช้ น้ำยา R22 เมื่อไหร่ ลองมาดูต่อนะครับ

สนธิสัญญาเกียวโต (Kyoto Protocol) ประชุมภายใต้กรอบของอนุสัญญาสหประชาชาติ กำหนดให้กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ซึ่งสารทำความเย็นบางชนิด เช่น R11, R12, R22, 134A เป็นสารที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ) ปัจจุบันหลายประเทศในโลก ไม่อนุญาตให้ใช้ R11, R12, R22, 134A ขอบคุณที่มา : กำหนดการเลิกใช้ น้ำยาแอร์ R-22 ในประเทศไทยโดยมี R410a มาทดแทน

สนธิสัญญามอนทรีออล (Montreal Protocol) มีข้อตกลงให้เลิกใช้สาร CFC (R11, R12) และลด-เลิก ใช้สาร HCFC (R-22) ในยุโรป ตั้งแต่ปี ค.ศ.2009 ห้ามนำเข้าเครื่องทำความเย็นที่ใช้สาร HCFC (R-22) ทางด้านรัฐบาลไทยให้ยกเลิกใช้สารทำลายบรรยากาศโอโซน คือสาร CFC (R11, R12) และเริ่มแผนลด-เลิก ใช้สาร HCFC (R-22) ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2553 โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ขอบคุณที่มา : กำหนดการเลิกใช้ น้ำยาแอร์ R-22 ในประเทศไทยโดยมี R410a มาทดแทน

องค์การสืบสวนสภาพแวดล้อม (EIA : Environmental Investigation Agency) พบว่าสาร HFC (R134A) ถึงแม้ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศ (ชั้นโอโซน) แต่ยังเป็นตัวการในการเพิ่มปริมาณของก๊าซเรือนกระจกที่สูงมาก ซึ่งทาง EIA ได้แจ้งว่าสารทำความเย็นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและไม่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน คือ Ammonia, Hydrocarbon และ CO2 ปัจจุบัน ประเทศเยอรมันและออสเตรเลีย เลิกใช้สาร HFC (R134A) แล้ว และในยุโรปจะให้เลิกใช้สาร HFC (R134A) ตั้งแต่ปี ค.ศ.2017 ขอบคุณที่มา : กำหนดการเลิกใช้ น้ำยาแอร์ R-22 ในประเทศไทยโดยมี R410a มาทดแทน

ประเทศที่พัฒนาแล้ว ตั้งเป้าหมาย
ปี 2004 ลดการใช้น้ำยาแอร์ R-22 ได้ 35%
ปี 2010 ลดการใช้น้ำยาแอร์ R-22 ได้ 65%
ปี 2015 ลดการใช้น้ำยาแอร์ R-22 ได้ 95%
ประเทศที่กำลังพัฒนา ตั้งเป้าหมาย
ในปี 2016 จะลดได้ 35% ตามลำดับ ซึ่งจะต้องหมดสิ้นในปี 2040
กำหนดการเลิกใช้ น้ำยาแอร์ R-22 ในประเทศไทยโดยมี R410a มาทดแทน

เครื่องปรับอากาศขนาดเล็กก่อน ที่ต่ำกว่า 24,000 บีทียู และห้ามผลิตเครื่องปรับอากาศที่ใช้น้ำยา R22 สำหรับโรงงานทั้ง 13 โรงที่เข้าร่วมแต่ยังสามารถขายได้จนถึงเดือนธันวาคม และในวันที่ 1 มกราคม 2561 ประมาณ 4 ปี ห้ามขายเครื่องปรับอากาศที่ใช้น้ำยา R22 ทั่วประเทศแต่สำหรับผู้ที่ยังต้องใช้เครื่องปรับอากาศที่ต้องใช้น้ำยา R22 อยู่ยังสามารถใช้ได้ เพราะก็ยังมีการนำเข้าน้ำยาตัวนี้บางส่วน อย่างไรก็ตาม น้ำยาเครื่องปรับอากาศ R32 มีข้อเสีย คือติดไฟเล็กน้อย ต่างจากน้ำยาตัวเดิมและตัวอื่น ๆ ที่ไม่ติดไฟ แต่หากใช้น้ำยาปริมาณน้อยก็จะติดไฟน้อยเบื้องต้นจึงใช้น้ำยาดังกล่าวในเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กก่อน ที่ต่ำกว่า 24,000 บีทียู

น้ำยาแอร์ หรือ สารทำความเย็น หากต้องเลือกเครื่องปรับอากาศหรือแอร์บ้าน เราต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง หนึ่งในนั้นก็คือ สารทำความเย็น หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ น้ำยาแอร์ คือสารเคมีที่มีคุณสมบัติไม่มีพิษ ไม่มีกลิ่น จุดเดือดต่ำกว่าสารทั่วไป เมื่อผ่านกระบวนการอัดสารทำความเย็นให้เป็นไอ ไหลเวียนภายในระบบเครื่องปรับอากาศและสร้างความเย็นสบายให้แก่เรา ปัจจุบันสารทำความเย็นที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศสำหรับที่อยู่อาศัย มีอยู่ 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่ R22, R410A และ R32 ซึ่งสารทำความเย็น R32 นี้ ถึงเป็นผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศรายแรกของประเทศไทยและของโลกที่ริเริ่มพัฒนาและนำมาใช้ไปทั่วโลก ตามข้อตกลงในพิธีสารมอนทรีออลเมื่อปี 1987 ที่ให้ความสำคัญกับการลดการทำลายชั้นโอโซน ทั่วโลกจึงเปลี่ยนจากการใช้สารทำความเย็น R22 มาเป็น R410A ซึ่งแม้ว่าจะลดผลกระทบในการทำลายบรรยากาศชั้นโอโซนได้อย่างดี แต่ก็ยังก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนสูง จึงมีกระแสการเปลี่ยนแปลงสารทำความเย็นที่ให้ความสำคัญต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสารทำความเย็น R32 นี้ มีประสิทธิภาพการทำความเย็นสูงที่มีคุณสมบัติที่นอกจากไม่ทำลายชั้นโอโซนแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนน้อยกว่าสารทำความเย็นปัจจุบัน R410A ถึง 3 เท่า และยังให้ประสิทธิภาพการทำความเย็นมากกว่า R22 ถึง 60% นั่นเองเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้เครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น R32 ผสานกับระบบอินเวอร์เตอร์ที่ช่วยเรื่องการประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี ทำให้ค่าประสิทธิภาพการประหยัดพลังงาน (หรือ Seasonal Energy Efficiency Ratio) สูงสุด

การติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น R32 ในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น R32 นั้น ช่างสามารถใช้อุปกรณ์ที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ R410A ได้เลย จุดที่เน้นย้ำช่างติดตั้งคือต้องให้ช่างทำระบบสูญญากาศ หรือ Vacuum เพื่อเอาความชื้นออกให้หมด สำหรับกลุ่มผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศจำนวน 13 โรงงานขานรับนโยบายของกรมโรงงานให้ปรับเครื่องจักรให้สามารถผลิตแอร์รองรับการใช้น้ำยาแอร์ใหม่ R32 เพื่อลดสาร CFC ยอมรับกระทบราคาขายแอร์ 5-10% วางเป้าหมายเลิกการนำเข้าน้ำยาแอร์ตัวเก่า R22 เป็นศูนย์ในปี 2573 นางจินตนา ศิริสันธนะ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เตรียมปรับเปลี่ยนการใช้น้ำยาสำหรับเครื่องปรับอากาศในขนาดต่ำกว่า 24,000 บีทียู จากเดิมที่เป็นน้ำยา R22 ที่มีสารเอชซีเอฟซี (HCFCs) เปลี่ยนมาเป็นน้ำยา R32 แทน เพื่อลดการปล่อยสาร CFC ที่จะทำลายชั้นบรรยากาศ ตามนโยบายของกรมโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการให้ยกเลิกการใช้สารดังกล่าวแบบขั้นบันไดจนกระทั่งเป็นศูนย์ในปี 2573 ตามที่ไทยได้ลงนามสนธิสัญญาตามพิธีสารมอนทรีออล ที่กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องยกเลิกใช้สารดังกล่าว ทั้งนี้กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ของบประมาณจากองค์การระหว่างประเทศ 700 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนาในการปรับเปลี่ยนการใช้น้ำยาเครื่องปรับอากาศจาก R22 เป็น R32 แทน โดยขณะนี้มีโรงงานผลิตเครื่องปรับอากาศไทยที่ต้องการเข้าร่วมโครงการเพื่อปรับเปลี่ยนการใช้น้ำยาดังกล่าวประมาณ 13 โรงงาน และยังมีโรงงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกกว่า 10 โรงงานที่ต้องการเข้าร่วม เช่น โรงงานฉีดโฟมในตู้เย็น สำหรับงบประมาณนี้ไม่ได้สนับสนุนในรูปแบบของเงิน แต่จะสนับสนุนในการจัดหาเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่สามารถผลิตเครื่องปรับอากาศที่รองรับการใช้น้ำยา R32 แทน "ไทยปรับไปใช้น้ำยา R32 แทนที่จะใช้น้ำยา R410A ที่มีการใช้ในยุโรปและสหรัฐ เพราะน้ำยา R410A มีข้อเสีย คือมีค่า GWP (Global warming potential) สูงมาก ซึ่งค่านี้เกิดจากความร้อนที่คายออกมาจากสารต่าง ๆ ทำให้โลกร้อน ฉะนั้นหากไทยจะเลิกใช้ R22 มาเป็น R410A จึงไม่มีประโยชน์ รวมถึงการหารือของประเทศชั้นนำต่างเห็นว่า R32 เป็นน้ำยาแอร์ที่ดีที่สุดในขณะนี้" นางจินตนากล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้คาดว่าในอีก 4 ปีข้างหน้า โรงงานในประเทศจะเริ่มทยอยผลิตเครื่องปรับอากาศที่รองรับการใช้น้ำยาดังกล่าว และจะเริ่มนำเข้าน้ำยา R32 มาใช้เช่นกัน ซึ่งคาดว่าต้นทุนอาจจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และส่งผลต่อราคาจำหน่ายเครื่องปรับอากาศประมาณในช่วงเริ่มต้นแค่ร้อยละ 5-10 แต่เชื่อมั่นว่าหากกลุ่มผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศมีการนำเข้าที่มากขึ้นในอนาคตจะทำให้ราคาลดลงได้

รายงานข่าวเพิ่มเติมว่า ตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่องแนวทางการอนุญาตนำเข้าสารเอชซีเอฟซีเพื่อใช้ในประเทศ พ.ศ. 2555 กำหนดว่า น้ำยาเครื่องปรับอากาศ R22 ได้เริ่มถูกควบคุมการนำเข้าตั้งแต่ปี 2556-2557 พร้อมถูกจำกัดการนำเข้าอยู่ที่ 927 โอดีพีตัน ถัดมาในปี 2558-2562 ลดการนำเข้าเหลือ 834 โอดีพีตัน ปี 2563-2567 นำเข้าเหลือ 602 โอดีพีตัน ปี 2568-2572 นำเข้าเหลือ 301 โอดีพีตัน และในปี 2573 งดการนำเข้า อย่างไรก็ตาม กรมโรงงานฯขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงปริมาณการนำเข้าสารดังกล่าวได้ตามความเหมาะสม สำหรับวันที่ 1 มกราคม 2560 จะเริ่มผลิตเครื่องปรับอากาศที่ใช้น้ำยา R32 และห้ามผลิตเครื่องปรับอากาศที่ใช้น้ำยา R22 สำหรับโรงงานทั้ง 13 โรงที่เข้าร่วม แต่ยังสามารถขายได้จนถึงเดือนธันวาคม และในวันที่ 1 มกราคม 2561 ห้ามขายเครื่องปรับอากาศที่ใช้น้ำยา R22 ทั่วประเทศ แต่สำหรับผู้ที่ยังต้องใช้เครื่องปรับอากาศที่ต้องใช้น้ำยา R22 อยู่ยังสามารถใช้ได้ เพราะก็ยังมีการนำเข้าน้ำยาตัวนี้บางส่วน


อย่างไรก็ตาม น้ำยาเครื่องปรับอากาศ R32 มีข้อเสีย คือติดไฟเล็กน้อย ต่างจากน้ำยาตัวเดิมและตัวอื่น ๆ ที่ไม่ติดไฟ แต่หากใช้น้ำยาปริมาณน้อย ก็จะติดไฟน้อย เบื้องต้นจึงใช้น้ำยาดังกล่าวในเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กก่อน ที่ต่ำกว่า 24,000 บีทียู R22 มีค่าการทำลายโอโซนสูงถึง 1800 เท่าของคาร์บอนไดออกไซด์ และ มีค่าการทำลายโอโซน 5.5% เมื่อ R11 เท่ากับ 100% R410a นั้นมีค่าการทำลายโอโซนสูงถึง 2088 เท่าของคาร์บอนไดออกไซด์ และ มีค่าการทำลายโอโซน 0% ส่วน R32 นั้นคิดเป็น 675 เท่าของคาร์บอนไดออกไซด์ และ มีค่าการทำลายโอโซน 0% การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่าง CO2 หรือคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก ๆ ออกสู่บรรยากาศ นั้นมันไปบล็อกรังสี UV-B ไม่ให้สะท้อนกลับออกไปสู่ชั้น Stratosphere เมื่อความร้อนของรังสียูวีถูกบล็อกอยู่บนพื้นโลก ๆ ของเราก็เลยร้อนจัดครับ เหมือนเตาอบ น้ำแข็งขั้วโลกที่ละลายทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมและอาจหมายถึงซึนามิที่เป็นปัญหาอย่างต่อเนื่องเท่าที่เห็นกันมาหลาย ๆ ปี ญี่ปุ่นได้รับผลกระทบอย่างหนักจากซึนามิที่เมืองเซนไดเมื่อไม่นานมานี้ การที่เขาตระหนักถึงการลดภาวะโลกร้อนนั้นไม่แปลกครับ ส่วน Mitsubishi อีกไม่นานและแทบจะทุกแบรนด์จะหันหัวเรือเข้าสู่ระบบ R32 ทั้งหมด ตาม Daikin ไปติดๆ ดังนั้นถ้าจะซื้อแอร์ใหม่แนะนำเลยให้เลือกระบบ R32 แม้ว่ามันจะติดไฟได้แต่ก็ไม่ได้ง่ายเสียทีเดียว ระดับการติดไฟอยู่ระหว่าง R22 กับ COLD22 และนี่ไม่ใช่การเปลี่ยนชื่อของ COLD22 แต่เป็นคนละชนิดกัน เรื่องนี้เป็นการตัดสินใจกันในระดับโลกฝั่งอเมริกาอาจจะยังเชียร์ R410a เพราะห่วงเรื่องของความปลอดภัยเรื่องการวาบไฟ ส่วน R32 ถูกบรรจุไว้ในแผนการตลาดและผลิตของญี่ปุ่นเป็นที่เรียบร้อย ภายในปี 2020 สารทำความเย็น R32 ก็จะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณในตลาดฝั่งเอเซียและอเมริกาถ้าระดับความร้อนของโลกยังไม่ลดลง แน่นอนถ้าตัดเรื่องติดไฟออกไปมันช่วยให้คุณประหยัดไฟได้อีกด้วย

เรามีทีมช่างทุกที่ทั่วไทยไกล้บ้านท่าน
  • บริษัท ร้อยแปดแอร์(ประเทศไทย) จำกัด 1/158 ซ.นพรัตน์ 3/3 แขวงศาลาธรรมสพน์ ทวีวัฒนา กทม 10170 โทร Call center 02-072-4646
  • ศูนย์ติดตั้งรามอินทรา 27/141 ถนนรัชดา-รามอินทรา แขวงรามอินทรา กรุงเทพ 10230 โทร 086-086-9822
  • ศูนย์ติดตั้งบางพลี 60/19 ซ.ชมเชย ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540 โทร 087-081-5691